top of page

GIOVANNI BOTTESINI

Information

Giovanni Bottesini (born December 22, 182; died July 7, 1889), was an Italian Romantic composer, conductor, and a double bass virtuoso. Born in Crema, Lombardy, he was taught the rudiments of music by his father, an accomplished clarinetist and composer, at a young age and had played timpani in Crema with the Teatro Sociale before the age of eleven. He studied violin with Carlo Cogliati, and probably would have continued on this instrument except for a unique turn of events. His father sought a place for him in the Milan Conservatory, but due to the Bottesini family's lack of money, Bottesini needed a scholarship. Only two positions were available: double bass and bassoon. He prepared a successful audition for the double bass scholarship in a matter of weeks. At the conservatory, he studied with Luigi Rossi, to whom he would later dedicate his Tre grandi duetti per contrabasso. Only four years later, a surprisingly short time by the standards of the day, he left with a prize of 300 francs for solo playing. This money financed the acquisition of an instrument of Carlo Giuseppe Testore, and a globe-trotting career as "the Paganini of the Double Bass" was launched. On leaving Milan, he spent some time in America and also occupied the position of principal double-bass in the Italian opera at Havana, where he later became director. Here his first opera, Cristoforo Colombo, was produced in 1847. In 1849 he made his first appearance in England, playing double bass solos at one of the Musical Union concerts. After this he made frequent visits to England, and his extraordinary command of his unwieldy instrument gained him great popularity in London and the provinces. Apart from his triumphs as a performer, Bottesini was a conductor of European reputation, and was conductor at the Théâtre des Italiens in Paris from 1855 to 1857 where his second opera, L'Assedio di Firenze, was produced in 1856. In 1861 and 1862 he conducted in Palermo, supervising the production of his opera Marion Delorme in 1862, and in 1863 in Barcelona. During these years he diversified the toils of conducting by repeated concert tours through Europe. In 1871 he conducted a season of Italian opera at the Lyceum theatre in London, during which his opera Ali Babà was produced, and he was chosen by Verdi to conduct the first performance of Aida, which took place at Cairo on 27 December 1871. When conducting opera, Bottesini would frequently bring his double bass on stage during the intermission to play fantasies on the evening's opera. His fantasies on Lucia di Lammermoor, I puritani and Beatrice di Tenda are virtuosic tours de force that are still popular with those who are highly accomplished on the instrument. Bottesini wrote three operas besides those previously mentioned: Il Diavolo della Notte (Milan, 1859); Vinciguerra (Paris, 1870); and Ero e Leandro (Turin, 1880), the last named to a libretto by Arrigo Boito, which was subsequently set by Luigi Mancinelli. He also wrote The Garden of Olivet, a devotional oratorio (libretto by Joseph Bennett), which was produced at the Norwich festival in 1887, eleven string quartets, a quintet for string quartet and double bass, and many works for the double bass, including two concertos for solo double bass, the Gran Duo Concertante (originally) for two double basses, Passione Amorosa for two double basses, and numerous pieces for double bass and piano. Shortly before his death, in 1888 he was appointed director of Parma Conservatory on Verdi's recommendation. Bottesini died in Parma on July 7, 1889. His solo works remain standard repertoire for accomplished double bassists to this day. Bottesini was a freemason, initiated June 20, 1849, in the Bank of England Lodge No. 263, London.

ดับเบิ้ลเบสนั้นไม่ได้มีการปฎิบัติให้เป็นเครื่องประเภทเล่นเดี่ยวมาตั้งแต่แรกเริ่ม และหลายบทเพลงที่มีชื่อเสียงของเครื่องดนตรีชนิดนี้ก็เกิดจากการนำเพลงจากเครื่องประเภทอื่นมาดัดแปลง มากไปกว่านั้น วิวัฒนาการของเครื่องดนตรีชนิดนี้ก็มีคุณลักษณะพิเศษด้วยการเปลี่ยนระบบการตั้งเสียงที่มั่นคง (Tuning system) ขนาด จำนวนสาย การเพิ่มเสริม และลดอุปกรณ์บนตัวเครื่อง รวมถึงอยู่รวมกับเครื่องสายประเภทอื่นที่มีคุณลักษณะคล้ายๆ กัน อย่างเช่นเครื่อง violone และเครื่องดนตรีประเภท da gamba

 

แม้ว่าทุกวันนี้ระบบการตั้งเสียงของเครื่องดับเบิ้ลเบสจะเป็นแบบสี่เสียงคือ E-A-D-G ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานสากล แต่ว่าการตั้งเสียงแบบ scordatura F#-B-E-A สำหรับงานประเภทเล่นเดี่ยวก็ถือว่าเป็นปกติ และไปจนถึงจุดที่เป็นปัญหา เนื่องด้วยว่าเครื่องดนตรีมีการปรับเปลี่ยนไปเรื่อยจึงส่งผลสะท้อนต่อตัวดนตรีอีกทีนึง

 

จากผลที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลง บทเพลงสำหรับเครื่องดับเบิ้ลเบสในยุคร่วมสมัยจึงยังเป็นเรื่องที่ใหม่ และดูเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเครื่องอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ใจกลางหลักของบทเพลงสำหรับดับเบิ้ลเบสนับจากยุคคลาสสิกแล้วนั้นจะมีจากนักประพันธ์อย่าง Dittersdorf, Vanhal, Sperger, และ Hoffmeister (ผู้ซึ่งมุ่งหมายในการตั้งเสียงเครื่องด้วยระบบห้าสายซึ่งเรียกกันว่า “Viennese tuning,” ซึ่งตั้งเสียงด้วย F-A-D-F#-A) แต่ก็ยังมีไม่มากนัก

 

ในยุคต่อมา จุดประสงค์ในการนำบทเพลงไปดัดแปลงจากต้นฉบับ เช่น นำเอาบทเพลงประเภทซิมโฟนี เพลงร้อง โอเปร่า ไปแปลงเพื่อให้เหล่านักดนตรีมากความสามารถ (virtuosi) ไปใช้เล่นในการแสดงเดี่ยวของตัวเองนั้นไม่ใช่แค่เป็นเพียงปรากฎการณ์นึงเท่านั้น โดยในตอนท้ายของศตวรรษที่สิบเก้าพวกเพลงดัดแปลงนั้นมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ซึ่งได้สร้างโอกาสในการสรรสร้าง และค้นคว้าขยายบทเพลงให้กับเครื่องดับเบิ้ลเบสให้กว้างมากขึ้นให้กับนักประพันธ์ที่เล่นเครื่องประเภทนี้ ผู้ที่มักโดนกล่าวว่าเป็นนักประพันธ์รอง

 


 

Theme & Variations

 

การจัดตั้งเพลงประเภท themes and variations โดยใช้ทำนองจากอุปรากรที่เป็น operatic paraphrases เป็นสิ่งที่มักจากอยู่ในงานของ Bottesini โดยบทเพลงทั้งสองประเภทนี้มีส่วนคล้ายกันในแง่ของการหยิบยืมลักษณะเด่นของบทเพลงมาขยายต่อ โดยส่วนใหญ่แล้ว themes and variations มักจากนำมาจากเพลงหลักในอุปรากร หรือบทเพลงโบราณ และตัว variations ก็เหมือนส่วนขยายใน operatic paraphrases ที่แสดงถึงทักษะความสามารถด้านอัจฉริยภาพของผู้เล่นเช่นกัน และอาจด้วยเหตุผลที่กล่าวมาจึงทำให้บทเพลงเหล่านี้ไม่ได้ถูกตีพิมพ์จำหน่ายขึ้นมาโดยทันทีแต่กลับมีเพื่อให้ตัวของ Bottesini ได้เล่นแสดงเองเสียมากกว่า โดยเขาได้ประพันธ์ชุด variations and operatic paraphrases ในช่วงต้นๆ ของชีวิตการเป็นศิลปินของเขา และช่วงที่เขากำลังเรียนอยู่ที่ Milan Conservatory

 

หรือในอีกแง่นึง มันก็ยังมีความแตกต่างระหว่างบทเพลงสองประเภทนี้อยู่ เพราะว่าบทเพลงสองประเภทนี้ยังมีรูปแบบการจัดแสดงที่แตกต่างกันออกไป โดยนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่สิบเจ็ดเป็นต้นมา บทเพลงที่เป็น variations จะถือได้ว่าเป็นบทเพลงนี้อนุญาตให้นักดนตรีสามารถนำเสนอวิธีการจัดการกับตัวเครื่องดนตรีของตนเองในหลายๆ บริบท แม้ว่าในช่วงท้ายของศตวรรษที่สิบแปด themes and  variations จะถือได้ว่าเป็น 'แหล่งทำกำไร' ก็ว่าได้ เนื่องด้วยว่าบทเพลงที่ themes and varations นำมาใส่นั้นจะมาจากบทเพลงที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น จากอุปรากร แต่ว่าการที่จะสามารถหาฟังบทเพลงเหล่านี้ได้ในยุคนั้นจะมีเพียงแต่ต้องไปดูตามโรงละครใหญ่ซึ่งหากอยากหาฟังก็คงทำได้เพียงเล่นด้วยตัวเอง อนึ่ง บทเพลงที่มีชื่อเสียงจะยิ่งเป็นตัวดึงดูดทำให้คนสนใจที่จะซื้อเก็บเอาไว้ทำให้งานประเภทนี้เป็นที่สนใจ




 

โดยเฉพาะกับนักเปียโนมือสมัครเล่น แต่ในครึ่งแรกของศตวรรษที่สิบเก้า themes and variations สำหรับประเภทเครื่องสายนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะที่มากกว่านักดนตรีมือสมัครเล่น และมักที่จะพบเห็นตามงานแสดงที่เพลงประเภทนี้จะเล่นโดยผู้ประพันธ์คนเดียวกัน และไม่มีจุดประสงค์ที่จะตีพิมพ์ขาย Operatic paraphrases ถือเป็นผลงานเชิง virtuoso ที่มีส่วนของการเล่นสด (improvisatory) ที่มีการแตกแขนงไปใน themes หรือ motives ของอุปรากรโดยเฉพาะ

 

การประพันธ์ sets of variations หรือ opera paraphrases นั้นถือเป็นกุญแจสำคัญที่สร้างลักษณะเฉพาะของนักดนตรีในยุคศตวรรษที่สิบเก้าที่เป็นผู้ประพันธ์ และเล่นบทเพลงเหล่านี้ด้วยตัวเองเพื่อนแสดงศักยภาพของความสามารถตนเอง ความสำเร็จจากบทเพลงที่แสดงศักยภาพนี้เองที่มีอิทธิพลต่อนักดนตรีอีกหลายคน และเปิดโอกาสและหนทางใหม่ๆในการคิดวิเคราห์ในเครื่องดนตรีของตน โดยงานประเภทนี้มักพบในงานประพันธ์ช่วงแรกๆ ของนักประพันธ์หลายคน เนื่องด้วย themes and variations เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการหลอมรวมสไตล์ของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงเพื่อเอางานของพวกเขามาเป็นตัวอย่าง และเรียนรู้ นอกเหนือจากงานเหล่านี้เป็นแหล่งทำเงินที่ขายให้กับนักดนตรีมือสมัครเล่นแล้ว เหล่าชนชั้นกลางไปจนถึงชนชั้นสูงก็เป็นอีกเป้าหมายนึงเช่นกัน โดยงานเหล่านี้นักดนตรีจะนำไปสอนกลุ่มคนเหล่านี้อีกทีนึง คงมีเพียงแต่การเติบโตของนักดนตรีประเภม virtuoso ในช่วงศตวรรษที่สิบเก้าเท่านั้นที่ทำให้งาน variations นี้กลายเป็นส่วนนึงของ virtuoso repertoire (ผลงานที่อาศัยทักษะความสามารถขั้นสูง)

 

Bottesini เป็นส่วนนึงที่ทำให้ variations และ operatic paraphrases เป็นส่วนนึงของ virtuoso repertoire ซึ่งขนานไปกับนักประพันธ์หลายๆ คนในยุคนั้นที่สร้างอาชีพของตนด้วยการออกแสดงเดี่ยวไปทั่วโลก อิทธิพลของอุปรากรอิตาลีในงานของ Bottesini นั้นไม่เพียงแต่แสดงลักษณะเฉพาะของงานเขาเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามมันกลายเอกลักษณ์ที่เชื่อมไปสู่วัฒนธรรมงานแสดงในรูปแบบใหม่ที่กระจายไปทั่วยุโรป และกลายเป็นสิ่งที่ผู้ชมคาดหวังที่จะได้ชมในการแสดงเดี่ยวของนักดนตรี

 

Nel cor più non mi sento

 

อุปรากรภาษาอิตาลีเรื่อง L’amor Contrastato ประพันธ์โดย Giovanni Paisiello (1740-1816) เป็นอุปรากรประเภท comic opera (อุปรากรชวนหัว) มีทั้งหมดสามองก์ซึ่งประพันธ์ที่เมืองเนเปิ้ลในปี 1788 โดยอุปรากรเรื่องนี้มักรู้จักกันในชื่อ La Molinara และมีชื่อเสียงไปทั่วยุโรป ในช่วงระหว่างปี 1790 ถึง 1809 อุปรากรเรื่องนี้ได้มีการจัดแสดงทั้งหมดกว่า 160 รอบที่กรุงเวียนนา และเป็นอุปรากรเรื่องสุดท้ายแสดงที่ Eszterháza ภายใต้การควบคุมของ Franz Joseph Haydn (1732–1809) ก่อนที่เขาจะออกจากที่นี้ แล้วไปลอนดอนในเวลาต่อมา โดยบทเพลง Nel cor più non mi sento มักได้ยินอยู่บ่อยครั้งในอุปรากรเรื่องนี้โดยในองก์สอง ตัวละครที่ชื่อว่า Rachelina ซึ่งเป็นเสียงโซปราโนจะร้องเป็น aria ในครั้งแรก และทำนองนี้จะย้ำอีกครั้งโดยตัวละคร Colandro ในเสียงเทนเนอร์และหลังจากนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นร้องแบบ duet  อีกที ผู้ชมไม่ได้เพียงแต่จำบทเพลง Nel cor più non mi sento เนื่องด้วยแค่เพลงมีการวนให้กลับมาได้ยินบ่อยครั้งในการแสดง แต่เนื่องด้วยบทเพลงที่ฟังง่าย จดจำง่าย และคาดการณ์ได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งเป็นเหมือนกับเพลงพื้นบ้าน เพลงนี้คงความมีชื่อเสียงเอาไว้ และมีการดัดแปลงเป็นภาษาอย่าง เยอรมัน และอังกฤษ


 

งานที่ประสบความสำเร็จของ Paisiello นี้ได้มีอิทธิผลให้กับนักประพันธ์คนอื่นๆ และเอาไปทำเป็น’ variations มากมาย ทำให้เพลงนี้กลายเป็นส่วนหนึ่ง 'เทรนด์' ของยุคศตวรรษที่สิบเก้าคือ ทำให้นักร้องที่ร้องเพลงด้วยการประดับโน้ตในเพลง (embellished)  เป็นอีกจุดที่คล้ายกับงาน variations รวมถึงเพิ่มความน่าสนใจในงานประเภท opera fantasias งานเปียโน และงาน chamber music และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในตลาดของสิ่งตีพิมพ์ดนตรีอีกด้วย

 

จากปี 1790 ถึงปี 1820 บทเพลงที่มีฐานของเพลง Nel cor più non mi sento นั้นมีมากมายมหาศาล นักดนตรีนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงอย่าง Auernhammer, Gelinek และ Beethoven ที่อยู่ในกรุงเวียนนาขณะนั้นก็ได้สร้างงาน theme and variations จากบทเพลงนี้เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับชนชั้นสูง โดยหลังปี 1820 เพลงนี้ได้ทำหน้าที่เป็นพาหนะในการสร้างงาน virtuosic ให้กับเครื่องดนตรีโดยนักประพันธ์เช่น Paganini และ Böhm ที่มีความสนใจในใจความหลักของบทเพลงดั้งเดิมน้อยกว่า และสนใจในการสร้างสรรเพิ่มเติมในเทคนิกมากกว่า ทำให้ขยายรูปแบบของบทเพลงประเภทโดยเริ่มด้วยการนำเสนอบทเพลงก่อนที่จะขยายเป็น vaiation ด้วยท่อนที่เป็นบทเพลงสวนสนาม (march) ท่อนที่คล้ายกับเพลงเต้นรำ และจังหวะที่แตกต่างกันไป มีงานประพันธ์จาก Nel cor più non mi sento ที่ประพันธ์หลังปี 1820 ที่ประพันธ์ในรูปแบบใหม่บนฐานธีมเดิมอีกที (newly composed introductions to the theme) ช่วงตอนจบที่ขยายมากขึ้น (lengthy codas) และการเปลี่ยนของระบบเสียงใน variations โดจงานพวกนี้มักมีพื้นฐาน และเอาตัวอย่างจากงานเพลงของ Paganini


 

Bottesini ได้ประพันธ์งาน variations ของเพลง Nel cor più non mi sento ในช่วงปี 1840 เพราะว่านี่คือช่วงเวลาที่ Bottesini ได้เริ่มต้นการจัดแสดงทั่วยุโรป แต่อาจมีความเป็นไปได้เช่นกันที่ผู้ประพันธ์จะประพันธ์หลังปี 1850 โดยในเดือนพฤษภาคมของปี 1851 Bottesini ได้ออกจากประเทศอเมริกาจะเดินทางไปยังลอนดอน ซึ่งเขาได้แสดงดนตรีร่วมกับนักไวโอลิน Sivori และนักเชลโล Piatti โดยตัว Sivori นั้นเป็นนักเรียนของ Paganini ผู้ซึ่งได้ประพันธ์เพลง variations ให้เพลง Nel cor più non mi sento เช่นกัน มากไปกว่านั้นทั้งตัวของ Sivori และ Bottesini ได้ร่วมกันปรับแต่งงานเพลงที่เป็นผลงานแรกๆ ของเขาคือ Gran duo concertante สำหรับดับเบิ้ลเบสสองเครื่อง เป็นสำหรับไวโอลิน และดับเบิ้ลเบส ซึ่ง Bottesini ใช้แสดงที่ลอนดอนในปี 1851.

ในงานเพลง Nel cor più non mi sento ของ Bottesini เริ่มด้วยตอนต้นที่ยาวทั้งหมดแปดห้อง และมี variations ทั้งหมดสามอันที่แยกจากกันด้วยการเล่นสลับของเปียโน (interlude)และปิดท้ายด้วยท่อน coda. ในช่วง variation แรกจะตามมาทันทีหลังจากที่นำเสนอ theme ก่อนที่จะมีเปียโนเล่นคั่นสั้นๆ โดยสิ่งที่เปียโนเล่นจะมีฐานจากทำนองใหม่ และอนุญาติให้ตัวนักเล่นโซโล่มีช่วงเวลาเตรียมเข้าสู่ variation ถัดไป แม้ว่าโครงสร้างของ interlude จะมีฐานจากการเคลื่อนที่ของคอร์ดแบบดั้งเดิมด้วย  I-IV-ii-V-I แต่ตัวของ Bottesini ได้ขยายกระขบวนให้มากขึ้น และซับซ้อนขึ้นด้วย secondary dominants และเพิ่ม hemiola ในช่วงสองห้องครึ่งสุดท้ายของตัว Variation แรกจะถูกเสริมหน้าด้วยตัวของ theme แต่ว่าในอันที่สอง และสามนั้นจะเสริมจากตัวเปียโน interlude ที่สร้างส่วนของระดับเสียงที่หนักแน่น ซึ่งเป็นทางดนตรีที่ผู้ชมคาดหวังที่จะฟังก่อนเข้าสู่ variation ใหม่แต่ละอัน แม้ว่า variation แต่ละอันจะมีจังหวะ และลักษณะที่แตกต่างกันไป แต่ว่าตัวเปียโนที่เล่นร่วมจะยังคงคล้ายกันในทั้งสามด้วยท่อนบนของเปียโนนี่เองที่ทำให้คงโครงสร้างของบทเพลงเอาไว้ได้ ทำให้ผู้เล่นโซโล่มีความอิสระในการเล่นแบบ virtuoso ด้วยศักยภาพขั้นสูงสุด

Giovanni Bottesini

       ถือเป็นหนึ่งในคีตกวีที่โดดเด่น และมีอิทธิพลมากที่สุดสำหรับดับเบิลเบส งานของเขาขยายเป็นไปได้ทั้งทางเทคนิคและการแสดงขิงมือขวาของเขาเกินขอบเขตที่คาด โดยนักประพันธ์เพลงและผู้ชมในปัจจุบันนี้จะเอาขององค์ประกอบเพลงของ Bottesini เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงที่จำเป็นในหลักสูตรโรงเรียน การออดิชั่นวงดนตรี การแข่งขันโซโล่ และโปรแกรมจัดแสดงดนตรีแบบต่างๆ ในการตีความเพลงของ Bottesini สำหรับดับเบิลเบสดั้งเดิม ได้อิทธิพลจากโอเปร่าอิตาลีอย่างมาก 

       เพลงของ Bottesini คือการเล่าเรื่องราวแล้วร้องออกมาจริงโดยใช้เบสแทนเสียงร้อง สำเนียงมาจากเทคนิคของมืขวามือซ้านที่มากจากความคิดที่จะร้องมันลงบนเบสออกไปสู่ผู้ฟังที่เขาต้องการเรื่องราวที่เราจะถ่ายทอดออกไปจากการตีความตามที่ Bottesini ได้เขียนไว้ มีทั้งเพลงที่มีอยู่แล้วเอามาเขียนให้เบสและทำ Variation ในแบบของ Instrumental ที่ยึดถือการร้องไว้เป็นหลัก จนไปถึงการเลียนเทคนิคของเครื่องอื่นลงมาบนเบส จนทำให้เห็นได้ว่าเบสนั้นทำได้มากกว่าแนวเบสหรือแนวทำนอง

นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

  1. มีความรู้สึกอย่างไรในการที่ได้เล่นเพลงของ Bottesini ?

รู้สึกว่าท้าทายมาก มีเทคนิคเยอะในแต่ละเพลงของเขา การที่จะเล่นเพลงของเขาต้องให้เหมือนเสียงของนักร้อง Opera ซึ่งยากมาก แต่เพลงเพราะมากเช่นกัน

  2. ความรู้สึกหลังจากที่ได้บรรเลงเพลงของเขา ?

เหมือนได้เล่าเรื่องราวเพราะเพลงของเขาเหมือนการเล่าเรื่องมากกว่าผู้แต่งของเบสท่านอื่น

  3. มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเทคนิคของเขา ?

 รู้สึกว่าเทคนิคเขาซ้ำซากเหมือนๆกันไปหมด แต่เทคนิดเหล่านี้เป็นเทคนิคที่สูงมากที่ควรเล่น

  4. ความรู้สึกด้าน Musical ?

ก็เหมือนๆกับผู้ประพันธ์ท่านอื่นๆ แต่ Bottesini มีการเล่าเรื่องที่ลึกซึ่งมากว่าเพราะเป็นเรื่องราว

bottom of page